วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2559

เรื่องจริงของ อิคคิวซัง

          ในประเทศญี่ปุ่น พระอิคคิวซัง มีตัวตนอยู่จริงนะคะ และยังมีหลักฐานต่างๆ ที่ยืนยันว่า “อิคคิวซัง” ไม่ได้เป็นแค่การ์ตูน แต่กลับเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่น เลยทีเดียว
          อิคคิวซัง เณรน้อยเจ้าปัญญา เกิดเมื่อปึ ค.ศ. 1394 (พ.ศ. 1937) ที่กรุงเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น  เป็นราชบุตรของพระจักรพรรดิโกโคมัตสึ และภรรยาชั้นรองของจักรพรรดิ คือ เจ้าจอมอิโยะ เนื่องจากปัญหาการเมืองภายในของญี่ปุ่นในสมัยนั้น ทำให้ท่านและท่านแม่ของท่านต้องออกจากวังไปยังเมืองซากา และที่นั่นท่านอิคคิวซังได้รับการเลี้ยงดูจากบรรดาคนรับใช้ เมื่ออิคคิวซังมีอายุได้ 5 ขวบ ท่านได้ถูกแยกจากแม่และส่งไปบวชที่วัดอังโคะคุจิ เมืองเกียวโต นิกายรินไซเซน เดิมจริงๆ แล้วตอนเด็ก อิคคิวซังท่านมีชื่อว่า เซนงิคุมารุ ต่อมาเมื่อท่านบวชเป็นเณรที่วัดอังโคะคุจิ ท่านได้รับชื่อใหม่ว่า ชูเค็น ในช่วงแรก ๆ นั้น ท่านได้เรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมจีนและภาษา การเขียนกวี ศิลปะ และวรรณกรรมจีน
รูปวาดของท่านอิคคิวซังตัวจริงยามแก่
รูปวาดของท่านอิคคิวซังตัวจริงยามแก่
เป็นวัดเล็กๆบนภูเขาเคโตคุและเป็นวัดที่ได้รับการดูแลจากโชกุนอะชิคางะทาคาอุจิ  วัดนี้อยู่ที่เกียวโตวัดอังโคะคุจิ เป็นวัดเล็กๆบนภูเขาเคโตคุและเป็นวัดที่ได้รับการดูแลจากโชกุนอะชิคางะทาคาอุจิ วัดนี้อยู่ที่เกียวโต
          เมื่ออิคคิวซังอายุได้ 13 ปี ท่านก็เริ่มเรียนหลักธรรมคำสอนตามวิถีเซนในวัดเคนนินจิ กรุงเกียวโต ท่านอิคคิวเริ่มเขียนบนกวีบ่อยขึ้นและมีเนื้อหาวิพากษ์วิจารณ์ในเรื่องต่าง ๆ รวมทั้งความประพฤติที่ไม่เหมาะสมของพระภิกษุด้วย จากนั้นเมื่ออายุ 16 ปี ก็ย้ายไปยังวัดมิบุเดระ แต่ไม่นานนักก็ย้ายอีก และได้ศึกษาหลักธรรมตามแบบวิถีเซนอยู่เรื่อย ๆ โดยเป็นคนที่เรียนรู้ง่ายจนกลายเป็นเณรและพระที่รอบรู้ แต่ถึงกระนั้นก็ดูเป็นคนเจ้าปัญหาอยู่ไม่น้อยเหมือนกัน ท่านมักจะประชดประชันและวิจารณ์พระที่ประพฤติตัวไม่เหมาะสม สวนทางกับพระวินัย
          ต่อมาท่านได้ย้ายไปอยู่วัดไซคินจิ ซึ่งเป็นวัดเล็กๆ ยากจนอยู่กับหลวงพ่อเคนโอ (Keno) ที่นี่ท่านชูเค็นได้เรียนรู้เซนที่แท้จริง หลวงพ่อเคนโอได้ตั้งชื่อให้ชูเคนใหม่ว่า โซจุน ท่านอิคคิวอยู่ที่นี่จนอายุได้ 21 ปี หลวงพ่อเคนโอก็มรณภาพ โซจุนเสียใจเป็นอย่างมากต่อการตายของหลวงพ่อเคนโอ จนถึงขนาดฆ่าตัวตายโดยการเดินลงไปในทะเลสาบบิวะ (Biwa) แต่โชคดีมีคนมาช่วยไว้
หลังจากนั้นโซจุนได้ไปหาหลวงพ่อคะโซ (Kaso) ที่วัดเซนโกอัน (Zenko-an) ซึ่งเป็นสาขาของวัดไดทกกุ ซึ่งเป็นวัดสำคัญในสมัยนั้น วันหนึ่งหลวงพ่อคะโซได้ตั้งปริศนาธรรมให้แก่โซจุน เมื่อโซจุนแก้ปัญหาได้แล้ว หลวงพ่อคะโซพอใจมากและตั้งชื่อให้ใหม่ว่า อิคคิว
หลวงพ่อถามอิคคิวว่า? “รู้หรือไม่ว่าคำว่าอิคคิวมีความหมายว่าอย่างไร”
อิคคิวตอบเป็นกลอนว่า?
ขอพักสักครู่หนึ่ง
ระหว่างทางจากโลกียะ
ถึงโลกุตตระ
หากฝนจะตกก็ตกเถิด
หากลมจะพัดก็พัดเถิด
(นาม อิคคิว แปลว่า พักสักครู่)
รูปปั้นของท่านอิคคิวซังตอนเป็นสามเณร ซึ่งสำหรับชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่แล้ว
รูปปั้นของท่านอิคคิวซังตอนเป็นสามเณร
ท่านอิคคิวเป็นเณรน้อยอารมณ์ดีอย่างที่เห็นในรูปและเก่งในการเล่นคำ
อิคคิวตัวจริง
ท่านอิคคิวตัวจริงเป็นพระเซนชั้นผู้ใหญ่ ซึ่งรูปปั้นของท่านในวัยผู้ใหญ่ก็แสดงให้เห็นถึงความสูงส่งและชาญฉลาดของท่าน
          นิสัยจริงของท่านอิคคิว ต่างจากที่เห็นในการ์ตูนอิคคิวซังมาก ในการ์ตูนท่านอิคคิวเป็นเด็กน่ารัก เรียบร้อย แต่ตัวจริงท่านมักจะมีความคิดที่แตกต่างจากผู้คนรอบตัวท่านอยู่เสมอ ดังนั้นท่านคะโซจึงมอบตำแหน่งเจ้าอาวาสให้แก่ศิษย์รุ่นพี่ของท่านอิคคิว ส่วนท่านอิคคิวก็ออกพเนจรไปตามที่ต่างๆ ซึ่งทำให้ท่านได้มีโอกาสพบปะกับศิลปินและกวีที่มีชื่อเสียงมากมายในยุคนั้น และก็ได้พบกับคนรักของท่านที่เป็นนักร้องเพลงสาวตาบอดที่ชื่อว่า โมริ (Mori) ท่านอิคคิวท่องเที่ยวอยู่หลายปีจนในที่สุดเมื่อเกิดสงครามโอนิน ซึ่งทำให้วัดไดทกกุถูกทำลายจนเป็นเถ้าถ่าน ท่านอิคคิวจึงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดเพื่อทำการฟื้นฟู แต่ท่านอิคคิวอยู่ที่วัดไดทกกุเพียงไม่นาน ท่านก็ไปอยู่ที่วัดอิคคิวจิ ซึ่งเป็นที่สุดท้ายที่ท่านอยู่ ศพของท่านก็ฝังอยู่ที่นี่ ในปี ค.ศ.1481 ท่านอิคคิวได้ถึงแก่มรณภาพเมื่ออายุได้ 87 ปี
หลุมฝังศพของท่านอิคคิวซึ่งท่านสร้างด้วยตัวเองในวัย 82 ปี เมื่อปี ค.ศ. 1475
หลุมฝังศพของท่านอิคคิวซึ่งท่านสร้างด้วยตัวเองในวัย 82 ปี เมื่อปี ค.ศ. 1475
          เรื่องที่เป็นที่รู้จักกันดีเรื่องหนึ่งของท่านอิคคิวก็คือป้ายที่หน้าสะพานซึ่งเขียนไว้ว่า ห้ามข้ามสะพาน ท่านอิคคิวเมื่อได้เห็นป้ายดังกล่าวแล้ว ท่านก็เดินข้ามสะพานไปตรงกลางทางเดินของสะพานโดยไม่มีการลังเลใจ ท่านจึงถูกจับ แต่ท่านก็ได้อธิบายว่าท่านไม่ได้เดินข้ามที่ขอบสะพานแต่ท่านเดินข้ามที่กลางสะพาน ในภาษาญี่ปุ่นนั้นคำว่า ฮาชิ มีสองความหมายคือ สะพานและขอบ
สะพานจำลองเหตุการณ์ปริศนาเรื่องสะพาน
สะพานจำลองเหตุการณ์ปริศนาเรื่องสะพาน
ป้ายหินซึ่งมีอักษรที่เขียนโดยท่านอิคคิว
ป้ายหินซึ่งมีอักษรที่เขียนโดยท่านอิคคิว
ภาพแสดงถึงท่านอิคคิวเดินถือไม้เท้าที่มีหัวกะโหลกเพื่อแสดงปริศนาธรรมแก่ผู้คนทั่วไป
ภาพแสดงถึงท่านอิคคิวเดินถือไม้เท้าที่มีหัวกะโหลกเพื่อแสดงปริศนาธรรมแก่ผู้คนทั่วไป วาดโดย โยชิโตชิ สึกิโอกะ (YOSHITOSHI TSUKIOKA) ปี ค.ศ. 1886
บางส่วนของบทกวีที่แต่งโดยท่านอิคคิว
ผลงานบางส่วนของบทกวีที่แต่งโดยท่านอิคคิว
หากเพื่อนคนไหนสนใจสามารถ หาหนังสือ “อิกคิวซัง ตัวจริง” ถูกแปลเป็นไทยโดย คุณพรอนงค์
หนังสือเรื่องอิคคิวซังตัวจริง เขียนโดยมาซาโอะ โคงุเร (แปลโดย พรอนงค์ นิยมค้า)
หนังสือเรื่องอิคคิวซังตัวจริง เขียนโดยมาซาโอะ โคงุเร (แปลโดย พรอนงค์ นิยมค้า)
          นอกจากนี้เพื่อนๆ หลายคนทราบไหมคะว่า เพลงช้าๆ ตอนจบของการ์ตูน อิคคิวซัง ที่มีภาพตุ๊กตาไล่ฝน และเราก็คงฟังแค่ผ่านๆ ไม่ได้สนใจอะไร นั้น แท้จริงแล้วมันคือคำพูดที่ถูกถ่ายทอดลงจดหมายของอิคคิวซังถึงแม่ และเชื่อว่าคำแปลเพลงจบของการ์ตูนอิคคิวซังครั้งนี้ จะไม่เหมือนทุกครั้งที่เราฟัง เพราะมันจะทำให้เพื่อนๆ น้ำตาไหลและทราบซึ้งสุดๆ
คำแปลเพลง
ท่านแม่ครับ สบายดีหรือเปล่า
เมื่อคืนผมเห็นดาวดวงหนึ่ง ส่องแสงสุกใส
อยู่บนปลายยอดต้นซีต้า
เมื่อจ้องมองดาวดวงนั้น
ผมรู้สึกถึงความอ่อนโยนของท่านแม่
ผมคุยกับดาวดวงนั้นว่า
ผมเป็นลูกผู้ชายจะไม่ท้อแท้
ถ้าเมื่อใดที่ผมเหงาผมจะมาคุยด้วยอีก
แค่นี้นะครับแล้ว จะเขียนมาหาท่านแม่อีก
อิคคิว
ท่านแม่ครับ สบายดีหรือเปล่า
เมื่อวานนี้ที่วัดของเรามีคนมาจากหมู่บ้านข้างๆ
เอาลูกแมวตัวน้อยมาให้
เจ้าแมวน้อยร้องไห้
เพราะว่ายังติดแม่ของมันอยู่
ผมบอกกับมันว่าอย่าร้องไห้ไป
เจ้าจะไม่เหงาหรอก เป็นลูกผู้ชายใช่ไหม
แล้ววันนึงเจ้าจะเจอแม่เอง
แค่นี้นะครับแล้ว จะเขียนมาหาท่านแม่อีก
อิคคิว
ที่มา : http://teen.mthai.com/variety/74533.html